เป็นคำถามที่ยอดฮิตมากในโลกโซเชี่ยล มีเดีย ที่ข้อสงสัยมีอยู่ว่าทำไมทีมขอนแก่น เอฟซี ต้องใช้แผนการเล่น 5-3-2 ก่อนอื่นต้องอธิบายผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องแผนการเล่นก่อนว่า แผนการเล่นการวางแทคติกนั้น
ประเด็นแรกที่ต้องทำความเข้าใจว่า นักเตะมีความเหมาะสมกับตำแหน่งไหน และแผนการเล่นอะไรที่เหมาะสมกับนักเตะ หลากคนหลากความคิดมักคิดว่า แผนการเล่น 4-4-2 คือแผนการเล่นที่ดีที่สุด แต่แผนการเล่น 4-4-2 คือเป็นแผนที่มาตรฐานในการเริ่มต้นจัดรูปแบบการเล่น
4-4-2 5-3-2
จากการสอบถามทีมงานโค้ช อย่าง โค้ช ณัฐศักดิ์ ภูสอดเงิน ว่าทำไมทีมขอนแก่น เอฟซี ต้องใช้แผน5-3-2 โค้ชได้บอกกับเราว่าแผน5-3-2 นั้นเป็นหนึ่งแผนการเล่นอย่างสากลที่วงการฟุตบอลใช้กันไม่ว่าจะเป็นลีกฟุตบอลอาชีพชั้นนำต่างประเทศที่ใช้กัน อย่างเช่นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็ใช้สต็อปเปอร์ 2 ตัวเหมือนกับทีมขอนแก่น เอฟซี เช่นกัน หลายคนอาจจะเข้าใจว่านี่คือแผนตั้งรับอย่างเดียวแต่ไม่ได้คิดว่าเวลาทีมเป็นฝ่ายบุกนั้น ระบบ5-3-2จะเปลี่ยนเป็น3-5-2 หรือ 4-4-2 ก็ได้ กลยุทธ์วิธีในการกำหนดใช้ในแต่ละแมตช์นั้น สามารถพลิกแพลงในเกมได้ ขึ้นอยู่ว่าท่านผู้ชมนั้นจะสังเกตหรือไม่อย่างไร ขอนแก่น เอฟซี ใช้วิงแบ็กสองข้าง ซ้ายและขวาขึ้นทำเกม ยกตัวอย่างเช่น
5-3-2 วิงแบ็กดันสูงเป็น 3-5-2 สามารถเปลี่ยนเป็น4-4-2 ได้
แผนการเล่นนั้นไม่จำเป็นต้องตายตัวเสมอ เมื่ออยู่ในเกมการวางแผนนั้นสามารถพลิกแพลงได้ตลอดเวลาต้องดูรูปเกม ต้องอ่านเกมฝ่ายตรงข้าม ต้องดูนักเตะของทีมฝ่ายตรงข้ามว่าเขาจะขึ้นทำเกมทางฝั่งไหนและ จะทำอย่างไรที่จะตัดเกมของคู่ต่อสู้ได้ และต้องมองหาจุดอ่อนของฝั่งตรงข้าม ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการเล่น ซึ่งมีความละเอียดอ่อนพอสมควรในการวางแผนของโค้ช นักเตะต้องมีสมาธิในเกมและสามารถเล่นตามคำสั่งตามรูปแบบที่กำหนดไว้มาให้ได้
ส่วนที่เห็นว่าการผิดพลาดนั้น ส่วนมากตำแหน่งกลางรับเรามักจะพลาดแต่ก็พยายามแก้ไขปรับปรุงมาตลอด และเริ่มลงตัวเป็นไปได้ด้วยดี และเกมที่ผ่านๆมาเราก็ทำได้ดีมากขึ้นตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะจากแฟนบอลทางทีมงานสต๊าฟโค้ชก็อยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์วิธี ซึ่ง ทุกอย่างนั้นสามารถพลิกแพลงได้ตลอดเวลาครับ ขอขอบคุณกับทุกความเห็นที่เสนอแนะมาครับ
อาจจะทำให้ทุกท่านได้คลายข้อสงสัยไม่มากก็น้อย กับการวางแผนการเล่นของทีมขอนแก่น เอฟซี ถ้าทุกท่านสังเกตดีๆก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าแผนการเล่นนั้น พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เหมือนคำว่า “แก้เกม” ของโค้ชหลายๆคนที่มักใช้กันครับ
เกรียงไกร กิจการสังวร………….เขียน เรียบเรียง
Related posts:
Comments แสดงความคิดเห็น
Powered by Facebook Comments